อีเมล์/เลขบัตรประชาชน :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
หมอกควันภาคใต้
24 ธันวาคม 2564

     

         ปัญหาหมอกควันข้ามแดน  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทย  จึงทำให้พัดพาเอาหมอกควันจากการเผาไหม้จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาด้วย  สาเหตุเกิดจากการเตรียมพื้นที่การเกษตร ในเกาะสุมาตราและบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย หมอกควันสามารถส่งผลกระทบต่อภาคใต้ของประเทศไทย  ซึ่งความรุนแรงของสถานการณ์จะขึ้นอยู่กับทิศทางลมและความกดของอากาศ  การเฝ้าติดตามสถานการณ์ในพื้นที่บริเวณต้นเหตุหมอกควันได้รับการติดตามการเกิดจุดเผาไหม้ (Hotspot) ด้วยดาวเทียมข้อมูล NOAA-18  และในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ได้เฝ้าระวังตรวจวัดคุณภาพอากาศ จำนวน 6 สถานี ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส 

https://www.reo15.go.th/news/detail/69/data.html

 

สำหรับช่องทางในการติดตามสถานการณ์หมอกควัน 

1. http://air4thai.pcd.go.th/web รายงานผลคุณภาพอากาศของประเทศไทย (รายชั่วโมง)

2. http://reo16.mnre.go.th/reo16/doc_announce/list/21/1 รายงานผลคุณภาพอากาศของภาคใต้ ประเทศไทย

3. http://asmc.asean.org/home/ แสดงจุดความร้อน (Hotspot) บริเวณเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

4. http://www.tmd.go.th/index.php ตรวจเช็ตสภาพภูมิอากาศภาคใต้

 

การดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากหมอกควัน

เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมในพื้นที่ที่มีหมอกควันปกคลุม และควรสวมหน้ากากหรือใช้ผ้าปิดจมูก หากเกิดอาการเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์ 

 

การปฏิบัติตัว (ที่มา ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กรมอนามัย)

       1. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกอาคาร

       2. งดทำกิจกรรมนอกบ้าน เลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ออกแรงหนัก

       3. งดสูบบุหรี่

       4. ดื่มน้ำบ่อยๆ

       5. สังเกตอาการผิดปกติ หายใจลำบาก คลื่นไส้ เหนื่อยง่าย ควรรีบพบแพทย์

       6. ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ

       7. งดการเผาขยะ

      8. ปิดประตู/หน้าต่าง ไม่ให้ควันเข้าในอาคาร 

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ